ใบชา เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถหลอกกันได้ในระดับหนึ่งครับ ถ้าหากว่าดูชาเป็น อย่างเช่นว่าสายพันธุ์ไหน เก็บฤดูไหน คนที่ทำชามาหลายปี หรือดื่มชามาเยอะ หากเวลาที่ดื่มรู้จักสังเกตควบคู่ไปด้วย ก็จะดูออกครับ
สาเหตุที่ได้ชื่อนี้มาเป็นเพราะ ใบชา สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ทุกสี่ฤดู
อย่างเช่นใบชาสายพันธุ์ไต้หวันที่ปลูกกันในบ้านเรา จะมีพันธุ์ชิงซิน จินเชวียน(เบอร์ 12) หร่วนจือ(เบอร์17) แล้วก็ซื่อจี้ชุน(สี่ฤดู) พันธุ์พวกนี้ใบจะต่างกัน กลิ่น รส ก็ต่างกัน อย่างเช่นในรูปนี้ เห็นแล้วรู้เลยว่าไม่ใช่ชิงซินกับหร่วนจือ เพราะรูปทรงใบไม่ใช่ แล้วก็ไม่ใช่จินเชวียนเพราะรอยหยักบนขอบใบไม่ใช่แบบนี้ เพราะฉะนั้นจึงเหลือคำตอบเดียวคือสี่ฤดู (สาเหตุที่ได้ชื่อนี้มาเป็นเพราะต้นชาสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ทุกสี่ฤดู)
เคยมีครั้งหนึ่งมีคนเอาชาขาวมาให้ชิม บอกว่าทำจากพันธุ์หร่วนจือ เป็นชาขาวที่ทำแบบไป๋หมู่ตาน แต่ดมดูแล้วยังไงก็คิดว่าอัสสัมแน่นอน เพราะกลิ่นของอัสสัม ไม่ว่าจะเอาไปทำชาเขียว ชาขาว หรือชาดำ จะต่างจากพันธุ์จีนอย่างชัดเจน
ก็เลยลองชงชิมดู พอคลี่ใบออกมาดู ก็จัดเจนเลยครับว่าเป็นอัสสัม ดูจากรูปทรงของใบแล้วก็รอยหยักที่ขอบใบ
ถ้าอุณหภูมิต่ำแบบนี้กลิ่นหอมของชาจะยิ่งส่งกลิ่นชัดเจนออกมา
เพราะฉะนั้นใครสนใจเรื่องชาลองสังเกตดูชนิดของชาได้จากกลิ่น และรูปทรงของใบหลังจากชงน้ำร้อนออกมาดูครับ อย่างเช่นสี่ฤดูกับหร่วนจือ ถ้าชิมเผินๆอาจคิดว่าเป็นชาตัวเดียวกัน แต่ถ้าค่อยๆชิมจะเห็นเลยว่าหร่วนจือ (พวก Blue Pagoda) จะกลิ่นละมุนออกไปในโทนดอกไม้ รสน้ำชาจะนุ่มลิ้น มีความเรียบละมุน ดื่มไปแล้วรู้สึกผ่อนคลาย ไม่หวือหวา ส่วนใบที่ชงออกมาแล้วจะเรียวยาว อู่หลงหอมๆแบบนี้ถ้าทำออกมาตามสูตรไต้หวันจะถูกนำไปหมักไว้ในห้องเย็นครับ คือเป็นห้องระบบปิดที่เปิดแอร์ไว้ควบคุมอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิต่ำแบบนี้กลิ่นหอมของชาจะยิ่งส่งกลิ่นชัดเจนออกมา
กลับกัน อู่หลงสี่ดู ถึงจะหอมนุ่มลิ้นชุ่มคอเหมือนกัน แต่สัมผัสแรกที่ได้ยามดื่มน้ำชาจะได้รสของความดิบ และฝาดเล็กน้อย เป็นความรู้สึกเหมือนเวลาได้สัมผัสรสชาติแบบ fruity มีความ refresh มากกว่าหร่วนจือ น้ำชาค่อนข้างเต็มปากเต็มคำ นำไปชงเย็นแบบ cold brew ก็อร่อยเพราะรสชาติของชาที่มีความ fruity จะให้ความรู้สึกสดชื่น กระฉับกระเฉงเมื่อน้ำชาอยู่ในอุณหภูมิเย็น
ชาสี่ฤดูนั้นเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างไต้หวันกับพันธุ์อู่อี๋
จากนั้นจึงมาดูใบ ใบของพันธุ์สี่ฤดูจะต่างจากจินเชวียนและหร่วนจืออย่างชัดเจน ขอบใบนั้นจะคล้ายกับชาตระกูลอู่อี๋ซานมากกว่าพันธุ์ไต้หวัน เพราะสี่ฤดูนั้นเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างไต้หวันกับพันธุ์อู่อี๋ จึงได้ลักษณะทางพันธุกรรมของต้นชาสายพันธุ์อู่อี๋ซานมาด้วยครับ
.ไต้หวันที่ปลูกกันในบ้านเรา จะมีพันธุ์ชิงซิน จินเชวียน(เบอร์ 12) หร่วนจือ(เบอร์17) แล้วก็ซื่อจี้ชุน(สี่ฤดู) พันธุ์พวกนี้ใบจะต่างกัน กลิ่น รส ก็ต่างกัน อย่างเช่นในรูปนี้ เห็นแล้วรู้เลยว่าไม่ใช่ชิงซินกับหร่วนจือ เพราะรูปทรงใบไม่ใช่ แล้วก็ไม่ใช่จินเชวียนเพราะรอยหยักบนขอบใบไม่ใช่แบบนี้ เพราะฉะนั้นจึงเหลือคำตอบเดียวคือสี่ฤดู (สาเหตุที่ได้ชื่อนี้มาเป็นเพราะต้นชาสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ทุกสี่ฤดู)
เคยมีครั้งหนึ่งมีคนเอาชาขาวมาให้ชิม บอกว่าทำจากพันธุ์หร่วนจือ เป็นชาขาวที่ทำแบบไป๋หมู่ตาน แต่ดมดูแล้วยังไงก็คิดว่าอัสสัมแน่นอน เพราะกลิ่นของอัสสัม ไม่ว่าจะเอาไปทำชาเขียว ชาขาว หรือชาดำ จะต่างจากพันธุ์จีนอย่างชัดเจน
ก็เลยลองชงชิมดู พอคลี่ใบออกมาดู ก็จัดเจนเลยครับว่าเป็นอัสสัม ดูจากรูปทรงของใบแล้วก็รอยหยักที่ขอบใบ
เพราะฉะนั้นใครสนใจเรื่องชาลองสังเกตดูชนิดของชาได้จากกลิ่น และรูปทรงของใบหลังจากชงน้ำร้อนออกมาดูครับ อย่างเช่นสี่ฤดูกับหร่วนจือ ถ้าชิมเผินๆอาจคิดว่าเป็นชาตัวเดียวกัน แต่ถ้าค่อยๆชิมจะเห็นเลยว่าหร่วนจือ (พวก Blue Pagoda) จะกลิ่นละมุนออกไปในโทนดอกไม้ รสน้ำชาจะนุ่มลิ้น มีความเรียบละมุน ดื่มไปแล้วรู้สึกผ่อนคลาย ไม่หวือหวา ส่วนใบที่ชงออกมาแล้วจะเรียวยาว อู่หลงหอมๆแบบนี้ถ้าทำออกมาตามสูตรไต้หวันจะถูกนำไปหมักไว้ในห้องเย็นครับ คือเป็นห้องระบบปิดที่เปิดแอร์ไว้ควบคุมอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิต่ำแบบนี้กลิ่นหอมของชาจะยิ่งส่งกลิ่นชัดเจนออกมา
กลับกัน อู่หลงสี่ดู ถึงจะหอมนุ่มลิ้นชุ่มคอเหมือนกัน แต่สัมผัสแรกที่ได้ยามดื่มน้ำชาจะได้รสของความดิบ และฝาดเล็กน้อย เป็นความรู้สึกเหมือนเวลาได้สัมผัสรสชาติแบบ fruity มีความ refresh มากกว่าหร่วนจือ น้ำชาค่อนข้างเต็มปากเต็มคำ นำไปชงเย็นแบบ cold brew ก็อร่อยเพราะรสชาติของชาที่มีความ fruity จะให้ความรู้สึกสดชื่น กระฉับกระเฉงเมื่อน้ำชาอยู่ในอุณหภูมิเย็น
จากนั้นจึงมาดูใบ ใบของพันธุ์สี่ฤดูจะต่างจากจินเชวียนและหร่วนจืออย่างชัดเจน ขอบใบนั้นจะคล้ายกับชาตระกูลอู่อี๋ซานมากกว่าพันธุ์ไต้หวัน เพราะสี่ฤดูนั้นเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างไต้หวันกับพันธุ์อู่อี๋ จึงได้ลักษณะทางพันธุกรรมของต้นชาสายพันธุ์อู่อี๋ซานมาด้วยครับ
.
Facebook Fanpage : รู้เฟื่องเรื่องชา
LINE SHOPPING : @kyobashi.tea