ชา ที่ดีต้องมีสามอย่าง

สองอาทิตย์ก่อนที่ได้ไปเจอเถ้าแก่โรงงานชาแห่งดอยฝูโซ่วซาน ความสูง 2,500 เมตร เป็นที่ที่ผลิตชาที่มีรสชาติละเมียดละไมที่สุดในไต้หวัน แกสอนไว้ว่า เวลาดื่มชา ชาที่ดีต้องมีสามอย่าง คือ “โหย่วผี โหย่วโร่ว โหยวกู่ 有皮,有肉,有骨” แปลเป็นไทยได้ว่า “มีผิว มีเนื้อ มีกระดูก”

วิธีเก็บรักษาใบชา

ความรู้สำหรับการเก็บรักษาใบชา เป็นหนึ่งในความรู้พื้นฐานที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักชงชามือเก่าและมือใหม่ มีหลายครั้งที่เราซื้อชามามากเกินไปและดื่มไม่หมดภายในช่วงเวลาที่เคยคิดไว้ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอทั้งคนที่เพิ่งเริ่มดื่มชา หรือดื่มมานานแล้ว

ชาญี่ปุ่น สายพันธุ์กับตำนานแห่งการค้นพบ

การค้นพบใหม่ๆมักมีสาเหตุมาจากลักษณะนิสัยของการเป็นคนช่างสังเกต ในยุคเมจิ (ค.ศ. 1868-1912) มีชายหนุ่มชาวญี่ปุ่นผู้หนึ่งได้รับสมญานามเชิงดูถูกแกมขบขันจากเพื่อนบ้านว่า อิตะจิ ที่แปลว่า เพียงพอน โดยชื่อนี้มีที่มาสืบเนื่องมาจากกิริยาที่ชอบเข้าไปด้อมๆมองๆ ศีรษะผลุบๆโผล่ๆอยู่ตามสวนชาของชาวบ้าน ไม่ต่างจากตัวเพียงพอน ที่มักจะเข้ามาเพ่นพ่านอยู่ในสวนชานั่นเอง

ชาแดง

ชาแดง หรือ ชาดำ คือคำที่ใช้เรียกชาที่ผ่านกระบวนการออกซิเดชั่นอย่างสมบูรณ์ กระบวนการออกซิเดชั่น คือปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างสารสำคัญ (สารอาหารต่างๆ) ในใบชากับออกซิเจนในอากาศ เกิดขึ้นหลังจากการนวดใบชา มีผลทำให้รสชาติของชามีมิติที่ลึกและกว้างมากขึ้น เป็นรสชาติที่หาไม่ได้จากชาประเภทอื่นๆ

การทำชา ทำไมต้อง ” Oxidation ”

ใบชาที่ผ่านการนวดมาแล้วครึ่งชั่วโมง นวดจนช้ำ ก่อนเข้าสู่กระบวนการ oxidation เพื่อให้เอนไซม์ในใบชาทำปฏิกิริยากับออกซิเจน รสชาติที่หลากหลายของชาดำเริ่มตรงนี้นี่เองครับ จะหมักชาดำให้ออกมามีกลิ่นแบบไหน มีบอดี้แน่นหรือบาง (จะเอาแบบน้ำมีเนื้อเต็มปากเต็มคำ หรือน้ำชารสเบาหวิว) ก็ต้องไปปรับ conditions ต่างๆในการหมักอีกที

ฉะเซ็น 御茶筌 Chasen แปรงชงมัทฉะ กับสุนทรียศาสตร์แห่งการชง

มีคำถามและข้อสงสัยในหมู่นักดื่มมัทฉะชาวไทยมากมายว่า ถ้าจะซื้อฉะเซ็น รุ่นไหนตีขึ้นฟองได้ดีที่สุด? หรือ รุ่นไหนจับถนัดมือและตีได้ง่ายที่สุด? หรือ ทำไมฉะเซ็นจึงมีหลากหลายรูปทรงแตกต่างกัน? เนื่องจากเดือนที่ผ่านมามีลูกค้าเข้ามาถามหาฉะเซ็นญี่ปุ่นหลายท่าน จึงขอรวบรวมข้อมูลเท่าที่รู้ จากหนังสือเกี่ยวกับฉะเซ็นภาษาญี่ปุ่น บวกกับความรู้ที่ได้จากช่างฝีมือทำฉะเซ็นสองท่าน คือคุนคุโบะ ซะบุน กับคุณทะนิมุระ ทันโกะ ให้ผู้อ่านทุกท่านไว้ใช้พิจารณา

ประวัติศาสตร์ ชาญี่ปุ่น ตอนที่ 1

เอไซเผยแพร่ชาในหมู่พระด้วยกัน โดยกล่าวว่ามันมีสรรพคุณที่แสนจะวิเศษ นั่นคือช่วยให้ตาสว่าง ไม่ง่วง มีสมาธิที่ดีขึ้น ถูกดื่มกันในหมู่พระ ซึ่งในสมัยนั้น เหล่าพระสงฆ์จะแปรรูปชาโดยการเด็ดยอดชาสด นำมานึ่ง ตากให้แห้ง แล้วบดเป็นผง

Kyobashi : Japanese Teas Series

ชาเขียวเซนฉะ เป็นชาสายพันธุ์เดี่ยว Single Origin จากไร่ชาที่จังหวัดชิซึโอะกะ สายพันธุ์ยะบุขิตะ ฤดูใบไม้ผลิ (อิจิบันฉะ 一番茶) นำมาทำเป็นเซนฉะ แบบอะสะมุชิ 浅蒸し คือการนึ่งไอน้ำระยะสั้น