จากใบชาพันธุ์อาซาฮี (朝日) สู่ผงมัทฉะ เดือน 11
บชาพันธุ์อาซาฮี 朝日 ของอุจิ ที่ผ่านการพรางแสง 30 วัน ตัวนี้คือหลังจากขั้นตอนนึ่งไอน้ำและคัดก้านออก ใบชาจะถูกนำไปอบแห้งโดยไม่ผ่านการนวด ที่เกียวโตจะใช้เตาอิฐในการอบ เขาบอกว่ากลิ่นจะหอมกว่าอบด้วยวิธีอื่น
บชาพันธุ์อาซาฮี 朝日 ของอุจิ ที่ผ่านการพรางแสง 30 วัน ตัวนี้คือหลังจากขั้นตอนนึ่งไอน้ำและคัดก้านออก ใบชาจะถูกนำไปอบแห้งโดยไม่ผ่านการนวด ที่เกียวโตจะใช้เตาอิฐในการอบ เขาบอกว่ากลิ่นจะหอมกว่าอบด้วยวิธีอื่น
อัสสัมพันธุ์ใบเล็กครับ เป็นชาพันธุ์พื้นเมืองของไทย รหัสพันธุกรรมไทย ที่ถึงแม้จะเป็นใบที่เจริญเติบโตเต็มที่ ก็มีใบเล็กไม่ต่างจากใบชาสายพันธุ์จีน อัสสัมแบบนี้มีกระจายอยู่ทั่วไปในเชียงใหม่ ลำปาง น่าน และเชียงราย แต่บางดอยอาจจะมีต้นชาแบบนี้มากกว่าดอยอื่น
ชาที่อยู่ในรูปคือ ทะมะเรียวขุฉะ 玉緑茶 เป็นชาเขียวประเภทหนึ่งของญี่ปุ่น (ชาญี่ปุ่นไม่ได้มีเฉพาะเซนฉะกับมัทฉะนะครับ 555) เป็นชาที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีน กรรมวิธีเก่าแก่กว่าเซนฉะ เพราะเป็นชาเขียวที่หยุดการ oxidation โดยการคั่วใบชาบนกระทะ จากนั้นจึงนำไปนวดแล้วทำให้แห้ง
จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ จะเห็นได้ว่าการดื่มชาในญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนเป็นอย่างมาก กล่าวคือหากไม่ดื่มชาในรูปแบบของผงละเอียดที่นำไปต้มหรือแช่ในน้ำร้อน ก็เป็นการดื่มชาหมักในรูปแบบของชาอัดก้อน การดื่มชาในรูปแบบผงนี่เองที่ถูกสันนิษฐานว่าเป็นต้นกำเนิดของมัทฉะ ทว่ารสชาติของชาผงในอดีตคงจะอร่อยน้อยกว่ามัทฉะในปัจจุบันเป็นแน่