การทำชา ทำไมต้อง ” Oxidation ”

ใบชาที่ผ่านการนวดมาแล้วครึ่งชั่วโมง นวดจนช้ำ ก่อนเข้าสู่กระบวนการ oxidation เพื่อให้เอนไซม์ในใบชาทำปฏิกิริยากับออกซิเจน รสชาติที่หลากหลายของชาดำเริ่มตรงนี้นี่เองครับ จะหมักชาดำให้ออกมามีกลิ่นแบบไหน มีบอดี้แน่นหรือบาง (จะเอาแบบน้ำมีเนื้อเต็มปากเต็มคำ หรือน้ำชารสเบาหวิว) ก็ต้องไปปรับ conditions ต่างๆในการหมักอีกที

ฉะเซ็น 御茶筌 Chasen แปรงชงมัทฉะ กับสุนทรียศาสตร์แห่งการชง

มีคำถามและข้อสงสัยในหมู่นักดื่มมัทฉะชาวไทยมากมายว่า ถ้าจะซื้อฉะเซ็น รุ่นไหนตีขึ้นฟองได้ดีที่สุด? หรือ รุ่นไหนจับถนัดมือและตีได้ง่ายที่สุด? หรือ ทำไมฉะเซ็นจึงมีหลากหลายรูปทรงแตกต่างกัน? เนื่องจากเดือนที่ผ่านมามีลูกค้าเข้ามาถามหาฉะเซ็นญี่ปุ่นหลายท่าน จึงขอรวบรวมข้อมูลเท่าที่รู้ จากหนังสือเกี่ยวกับฉะเซ็นภาษาญี่ปุ่น บวกกับความรู้ที่ได้จากช่างฝีมือทำฉะเซ็นสองท่าน คือคุนคุโบะ ซะบุน กับคุณทะนิมุระ ทันโกะ ให้ผู้อ่านทุกท่านไว้ใช้พิจารณา

ประวัติศาสตร์ ชาญี่ปุ่น ตอนที่ 1

เอไซเผยแพร่ชาในหมู่พระด้วยกัน โดยกล่าวว่ามันมีสรรพคุณที่แสนจะวิเศษ นั่นคือช่วยให้ตาสว่าง ไม่ง่วง มีสมาธิที่ดีขึ้น ถูกดื่มกันในหมู่พระ ซึ่งในสมัยนั้น เหล่าพระสงฆ์จะแปรรูปชาโดยการเด็ดยอดชาสด นำมานึ่ง ตากให้แห้ง แล้วบดเป็นผง