ฉาชี่ (茶氣) คืออะไร?

เมืองจีน ถือว่าฉาชี่ ก่อให้เกิดอาการต่างๆในร่างกายคนแตกต่างกันไป หมายความว่า ถึงจะเป็นชาตัวเดียวกัน แต่หากต่างคนดื่ม แต่ละคนก็จะมีอาการแตกต่างกันออกไป หรือถึงเป็นคนเดียวกัน แต่ถ้าหากดื่มในต่างเวลา ต่างสถานที่ ต่างสภาพแวดล้อม ก็จะก่อให้เกิดอาการที่แตกต่างกัน

ชากิโลละ 1.32 ล้านบาท หน้าตาเป็นยังไง (ชารางวัลชนะเลิศ ตอนที่ 2)

แต่ละรอบจะมีชาเข้าร่วมประกวดประมาณ 1,000 ล็อต จากผู้ผลิตหลายร้อยราย คนที่ได้รางวัลชนะเลิศ จะมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น โดยชาแต่ละล็อตที่ส่งประกวด จะมีทั้งสิ้น 10 ชั่งไต้หวัน (ชั่งละ 6 ขีด) ก็เท่ากับ 6 กิโลกรัม

ไปเยี่ยมบ้านน้องตงฟางฯ กันครับ (ชารางวัลชนะเลิศ ตอนที่ 1)

หลังจากหมักชาเรียบร้อย ซึ่งกลิ่นและรสต่างๆของชาอู่หลง ทั้งหอมดอกไม้ รสฟรุ้ตตี้ จะเกิดขึ้นระหว่างการหมักนี้ ขั้นตอนถัดไปคือการผัดชาครับ การผัดชาก็มีหลายสูตร ชาที่ชงแบบ cold brew ได้ก็จะมีสูตรการผัดที่ต่างออกไปจากชาที่ชงร้อนได้อย่างเดียวครับ

ชาคริสต์มาส Christmas TEA Collection

ชาคริสต์มาส สำหรับเทศกาลปีใหม่นี้ มีให้เปิดจองและพร้อมจัดส่งแล้วนะครับ ชาคริสต์มาสปีนี้มีมาทั้งหมด 4 รูปแบบด้วยกันครับ

วิธีเก็บรักษาอู่หลงอบไฟ

ชาเก่าๆความหอมในโทนดอกไม้มันจะเริ่มหาย รสผลไม้จะเริ่มเปลี่ยนเป็นรสบ๊วย คือมีความเปรี้ยวแบบบ๊วยผสานกับกลิ่นหวานๆของน้ำตาลที่ไหม้ไฟ ในส่วนของความแรงของไฟก็จะค่อยๆหายไปจนสัมผัสไม่ได้ เหลือแต่กลิ่นควันจางๆ รสก็จะกลมๆ คือมีความทุ้มลึก แต่ไม่แหลม ถ้าใครชอบชาเก่า พอเปิดชาอู่หลงอบไฟพวกนี้ก็ปล่อยมันไว้ในกระปุกหรือซองเลย แต่ถ้าใครไม่ชอบให้มันเก่า พอเปิดทิ้งไว้ให้มันถอนไฟ ได้สัก 6 เดือนหรือหนึ่งปี

เกร็ดเล็กๆ ก่อนจะมาเป็น ตงฟางเหม่ยเหริน

ปกติชา ตงฟางเหม่ยเหริน จะทำ 2 ฤดูครับ คือฤดูร้อนกับฤดูหนาว สำหรับชาตงฟางเหม่ยเหริน ชาฤดูร้อนจะทำออกมาได้รสชาติดีกว่า สาเหตุเป็นเพราะว่าในฤดูร้อนนั้นมีแมลงมาก โอกาสที่ยอดชาจะถูกแมลงกัดก็มีมากกว่า ยอดชาแบบนี้ พอนำมาหมักแล้วจะให้รสและกลิ่นในโทนของน้ำผึ้งกับผลไม้สุกที่มากกว่า

Premium Matcha มัทฉะ เกรดพิธีชงชา

ทุกวันนี้ ชาที่ผลิตในญี่ปุ่น ล้วนแล้วแต่ถูกผลิตขึ้นโดยเครื่องจักร automatic ทั้งสิ้น โดยผู้ผลิตเครื่องจักรเหล่านี้ก็มีเพียงไม่กี่เจ้า จึงอาจเรียกได้ว่า รสชาติของชา อาจไม่ได้แตกต่างกันมากนัก ถ้าจะทำให้แตกต่าง ก็ต้องมาเล่นเรื่องสายพันธุ์ หรือวิธีการเก็บ การดูแลรักษาต้นชา เพราะถ้าหากนำใส่เครื่องจักรไปแล้ว กรรมวิธีที่เหลือก็ไม่ค่อยจะต่างกัน

อัศจรรย์แห่งการหมัก ชาไต้หวัน – Taiwanese Tea

กลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ของเถี่ยกวนอินที่หลงเหลืออยู่ในปากและในลำคอ แม้จะกลืนน้ำชาลงไปแล้วก็ยังไม่หาย คล้ายกับเวลาดื่มเหยียนฉาจากอู่อี๋ซาน ซึ่งความรู้สึกจากเหยียนฉานั้นจะเรียกกันว่า เหยียนยุ่น 岩韻

” ฟุจิยะมะ ” สมบัติประจำชาติญี่ปุ่น ” 不二山 ” 国宝 – ถ้วยชา

ถ้วยชา ในรูป คือถ้วยชาที่มีชื่อว่า “ฟุจิยะมะ” เป็นผลงานของศิลปินนาม ฮงอะมิ โคเอ็ตสึ (本阿弥光悦) มีชีวิตอยู่ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1558-1637 ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสมบัติประจำชาติญี่ปุ่น (国宝: National Treasures มรดกที่หลายกระทรวงในรัฐบาลญี่ปุ่นเห็นพ้องต้องกันว่ามีความสำคัญต่อวัฒนธรรมของชาติ)

ชา – รสชาติแบบต้นตำรับ หรือรสตามแบบสมัยนิยม?

มีเถ้าแก่ร้านชาร้านหนึ่งสอนผมไว้ว่า ควรจะรู้จักดื่มชาที่ผลิตออกมาตามสูตรต้นตำรับเข้าไว้ เพราะถ้าในอนาคตเราดื่มชาที่มาจากหลากหลายผู้ผลิต และหลากหลายแหล่งปลูก รสชาติต้นตำรับจะคอยเปรียบเสมือนกับไม้บรรทัด โดยทำหน้าที่เป็น reference ที่เราสามารถนำมาอ้างอิงได้ เวลาจะให้ความเห็นเกี่ยวกับรสชาติของชาตัวใดๆ