” ชาปลอมในประวัติศาสตร์ ”
ในระยะเริ่มแรกที่ชาถูกนำเข้าไปขายยังยุโรปเมื่อราวๆ 400 กว่าปีก่อนนั้น ชาถือเป็นของสูง ที่คนมีเงินเท่านั้นที่สามารถซื้อหามาดื่มได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ชาก็เริ่มแพร่หลายลงมาสู่กลุ่มชนชั้นกลาง ก่อให้เกิดการบริโภคชาในวงกว้างมากขึ้น แต่กระนั้นความต้องการชาก็ยังมีมากเสียจนหลายๆครั้งชาเกิดการขาดตลาดหรือมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้ราคาชาถีบตัวสูงขึ้นไปอีก
จนมีพ่อค้าหัวใส คิดค้นชาปลอมขึ้นมา การทำชาปลอมนั้นมีหลายวิธี ตั้งแต่การใช้ใบไม้ที่หาได้ในอังกฤษ นำมาอบแห้ง และปั่นให้แตกเหมือนใบชา พอนำไปผสมกับชาดำจริงๆก็ดูแทบไม่ออก หรือการไปรับซื้อใบชาที่ใช้แล้ว จาก Coffee House ต่างๆ ที่จะนำใบชาที่ผ่านการแช่น้ำร้อนดื่มมาแล้วออกมาตากแดดให้แห้ง และขายในราคาถูก และมีอีกวิธีหนึ่ง ที่พ่อค้าหัวใสใช้ในการปลอมแปลงชาเขียว คือใช้สารเคมีประเภทคอร์บอเนต ผสมกับใบไม้แห้ง ให้มีสีเขียว หลอกขายให้ผู้บริโภค
หมายเหตุ: ภาพเขียนถูกเขียนโดย Jean-Etienne Liotard ศิลปินชาวสวิส มีชีวิตอยู่ระหว่างปี 1702-1789 ชื่อภาพ Still Life Tea Set
KYOBASHI chiang rai