Skip to content
You are here:
- Home
- Article author charoen
ตงฟางเหม่ยเหริน หรือ ไป๋หาวอู่หลง เป็นชาที่มีหลายชื่อครับ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ไต้หวัน ถือกำเนิดมาเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีก่อน คือราวปลายศตวรรษที่ 19 เกิดจากการต้องการแปรรูปยอดชาที่ถูกเพลี๊ยจั๊กจั่นดูดกินน้ำเลี้ยง ยอดชาจึงหงิกงอ กระดำกระด่าง แลดูแล้วไม่สวย หากทว่ายอดชาที่ถูกเพลี๊ยดูดกินน้ำเลี้ยงนั้นมีกลิ่นหอม เมื่อนำมาทำชาแล้วเกิดกลิ่นผสมผสานกันระหว่างกลิ่นน้ำผึ้ง และกลิ่นหอมของผลไม้ โดยกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์นี่เองที่ทำให้ชาตัวนี้โด่งดังขึ้นมา
นับตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ชาถูกนำเข้ามาปลูกในญี่ปุ่น คือช่วงก่อน ค.ศ. 1000 มาจนถึงทศวรรษ 1950 ต้นชาในญี่ปุ่นถูกปลูกด้วยการเพาะเมล็ดทั้งสิ้น ทว่าหลังจากมีการค้นพบพันธุ์ยะบุขิตะ ว่าให้ผลผลิตที่มีรสชาติดี (เหมาะสำหรับทำเซนฉะ) ต้นยะบุขิตะต้นแม่ ก็ถูกโคลนนิ่ง โดยวิธีการปักชำ จนต้นชาที่เกิดจากการปักชำจากต้นชาต้นแม่เพียงต้นเดียว ครอบคลุมพื้นที่ปลูกชากว่า 80% ของพื้นที่ทั้งหมด
เจิ้งซานเสียวจ่ง หรือที่เมืองจีนเรียกกันง่ายๆว่า เสียวจ่ง เป็นชาแดงพื้นฐานครับ คือทำกันมาเนิ่นนาน เป็นชาแดงตัวแรกที่ทำออกมา จึงถือได้ว่าเป็นชาพื้นๆ ถึงจะมีสตอรี่ มีประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้เป็นที่หวือหวาโด่งดังเป็นพุแตกได้รับความนิยมแบบจินจวิ้นเหมย เนื่องจากชาวจีนดื่มเสียวจ่งกันมาหลายร้อยปีแล้วนั่นเอง
ในทางพฤกษศาสตร์ เชื่อกันว่าต้นชาที่มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ แท้จริงแล้วมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบยูนนาน ไม่ใกล้ไม่ไกลจากไทย อยู่เหนือจากเชียงรายขึ้นไปนิดเดียว ซึ่งบรรพบุรุษของต้นชานี้ พอถูกลม ฝน นก สิงสาราสัตว์แพร่กระจายเมล็ดไปยังที่ต่างๆ ก็เกิดการวิวัฒนาการสายพันธุ์โดยปรับตัวไปตามสภาพแวดล้อมของแต่ละที่ที่เมล็ดแพร่พันธุ์ไป
“…ยุคคะมะกุระนี่เองที่ชาเริ่มมีอิทธิพลต่อรากฐานความคิดและมุมมองต่อความสวยงามของคนญี่ปุ่น ตั้งแต่ยุคเฮอันเป็นต้นมา การสร้างที่อยู่อาศัยของราชวงศ์ ขุนนาง และนักรบ มีรูปแบบโอ่อ่า มีลักษณะเป็นอาคารหลายหลังที่มีทางเดินเชื่อมถึงกัน การก่อสร้างอาคารแบบนี้ถูกขนานนามว่า ชินเด็นสึขุริ
ช่วงที่ผ่านมาเราพยายาม R&D สรรหาวิธีการทำชาใหม่ๆเพื่อทำชาออกมาให้ตอบโจทย์ของลูกค้าครับ จนตอนนี้ทำออกมาได้ทั้งสิ้นสามสูตร คิดว่าน่าจะเป็นชาที่ตอบโจทย์หลายๆท่าน ทั้งสำหรับนำไปทำดื่มเองที่บ้าน หรือนำไปดัดแปลงทำเป็นสูตรเพื่อเสิร์ฟในร้าน หรือทำชา delivery ขาย
เมื่อหลายร้อยปีก่อน สมัยที่ญี่ปุ่นเริ่มนำชาจากจีนเข้ามาดื่มนั้น ก็ได้นำเครื่องปั้นดินเผาเพื่อสำหรับใช้ในการดื่มชาเข้ามาด้วย ในยุคนั้นสิ่งของที่มาจากจีนถือว่าเป็นสิ่งล้ำค่า ด้วยว่านวัตกรรมของจีนในยุคนั้นต่างเหนือกว่าประเทศในแถบเอเชียทั้งสิ้น
“ชาชิซึโอกะ” (静岡茶: Shizuokacha) จากจังหวัดชิซึโอกะ มีพื้นที่ปลูกเป็นอาณาเขตกว้างขวางที่สุด เนื่องจากอยู่ใกล้ฟูจิ พื้นที่บริเวณนั้นจึงอุดมไปด้วยแร่ธาตุจากภูเขาไฟ
นอกจากในเมืองจีนแล้ว ก็ยังมีวัฒนธรรมนิยมชมชอบใบชารอบแรกของปีในญี่ปุ่นอยู่เช่นกัน ใบชาที่เก็บได้รอบแรกนี้ถูกเรียกว่าอิจิบันฉะ หมายถึงใบชาที่ถูกเก็บในรอบที่หนึ่งของปี ต้นชาสายพันธุ์ควบคุมที่ใช้เป็นมาตรฐานในการวัดคุณภาพของสายพันธุ์อื่นคือพันธุ์ยะบุขิตะ หากสายพันธุ์ใดมีการแตก
คือ “กาน้ำชาเหล็ก” มีประวัติยาวนานกว่า 400 ปี ชาวญี่ปุ่นนิยมใช้กาน้ำชาเหล็กต้มน้ำสำหรับดื่มชา โดยมีผลวิจัยจากศูนย์วิจัยน้ำประจำจังหวัดชิซุโอกะ(Shizuoka)สนับสนุนว่า…เมื่อนำน้ำไปต้มในกาเหล็ก
Go to Top
error: Content is protected !!