” ฟุจิยะมะ ” สมบัติประจำชาติญี่ปุ่น ” 不二山 ” 国宝 – ถ้วยชา

ถ้วยชา ในรูป คือถ้วยชาที่มีชื่อว่า “ฟุจิยะมะ” เป็นผลงานของศิลปินนาม ฮงอะมิ โคเอ็ตสึ (本阿弥光悦) มีชีวิตอยู่ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1558-1637 ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสมบัติประจำชาติญี่ปุ่น (国宝: National Treasures มรดกที่หลายกระทรวงในรัฐบาลญี่ปุ่นเห็นพ้องต้องกันว่ามีความสำคัญต่อวัฒนธรรมของชาติ)

ชา – รสชาติแบบต้นตำรับ หรือรสตามแบบสมัยนิยม?

มีเถ้าแก่ร้านชาร้านหนึ่งสอนผมไว้ว่า ควรจะรู้จักดื่มชาที่ผลิตออกมาตามสูตรต้นตำรับเข้าไว้ เพราะถ้าในอนาคตเราดื่มชาที่มาจากหลากหลายผู้ผลิต และหลากหลายแหล่งปลูก รสชาติต้นตำรับจะคอยเปรียบเสมือนกับไม้บรรทัด โดยทำหน้าที่เป็น reference ที่เราสามารถนำมาอ้างอิงได้ เวลาจะให้ความเห็นเกี่ยวกับรสชาติของชาตัวใดๆ

ชาเก่า = 老茶, เหล่าฉา

ชาเก่า ในภาษาจีนเรียกว่า เหล่าฉา 老茶 แปลตรงตัวได้ว่า ชาเก่า ตามหลักแล้ว ชาที่จะเรียกว่าชาเก่าได้ จะต้องมีอายุ 5 ปีขึ้นไป ถึงจะเรียกว่าชาเก่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ชาเก่าที่มีขายอยู่ในตลาด ก็มีทุกรูปแบบ อาจจะ 5 ปี 10 ปี 20 ปี 30 ปี 40 ปี

ฝูเจี้ยน ถิ่นกำเนิด ” เถี่ยกวนอิน กับ ฝูติ่งต้าไป๋ “

ชาวจีนในฝูเจี้ยนประสบความสำเร็จในการปักชำต้นชา เป็นการขยายพันธุ์ต้นชาให้มีรหัสพันธุกรรมเหมือนกันหมดทั้งแปลง โดยในปี ค.ศ. 1857 ก็ประสบความสำเร็จในการขยายพันธุ์ต้นชาโดยใช้วิธีปักชำเป็นผลสำเร็จจำนวนสองสายพันธุ์ คือ เถี่ยกวนอิน 鐵觀音 กับ ฝูติ่งต้าไป๋ 福鼎大白

ชาอู่หลง ต้งติ่งจากไต้หวัน 凍頂烏龍茶

ชาอู่หลง ต้งติ่ง ถือว่าเป็นชาที่มีชื่อเสียงโด่งดังอีกตัวหนึ่งของไต้หวัน จัดอยู่ในประเภทของชาอู่หลง เป็นชาที่ผ่านการหมักนาน อบไฟแรง รสชาติและกลิ่นของชาจะอยู่ในโทนของถั่ว ผลไม้สุก บ๊วย น้ำตาลไหม้ อีกทั้งยังมีกลิ่นและรสที่เป็นเอกลักษณ์ของชาที่ผ่านการอบไฟแรง เป็นชาที่มีอายุการเก็บได้ยาวนาน สามารถเก็บได้เรื่อยๆ เป็นชาอีกตัวที่เหมาะสำหรับนำมาทำชาเก่า (老茶)

ชาอู่หลง : Oolong Tea

ชาอู่หลง แบ่งออกได้เป็นสี่ประเภทใหญ่ๆ ตามแหล่งกำเนิด ภาษาจีนเรียกว่า ซื่อต้าอู่หลง 四大烏龍 ได้แก่ กว่างตงอู่หลง หมินหนานอู่หลง หมินเป่ยอู่หลง และ ไถวันอู่หลง

ต้นชา : Camellia sinensis

ต้นชาคือพืชที่อยู่ในสกุลคาเมลเลีย (Camellia) วงศ์ชา (Theaceae อ่านว่า ธีเอซี) ต้นชาก็เหมือนกับพืชชนิดอื่นๆ คือมีหลากหลายสายพันธุ์ที่สามารถแบ่งแยกย่อยออกเป็นชนิดต่างๆได้อย่างมากมาย

Sparkling Iced Tea

ช่วงปีก่อนเพื่อนไต้หวันพาไปทัวร์ร้านชาหลายร้าน เจอเมนู Sparkling Iced Tea ในร้านชาบางร้าน คือเขาเอาชาไต้หวันเนี่ยมาทำการ cold brew ในน้ำโซดา แล้วปรุงรสต่างๆลงไป ก็พบว่ารสชาติมันออกมาค่อนข้างดีเลยทีเดียว คือได้คาแรกเตอร์ของชา บวกความหวาน ความซ่า และความเย็นเข้าไป จึงกลายเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับดื่มในเวลาอากาศร้อนๆเป็นอย่างมาก

ประวัติศาสตร์ชาญี่ปุ่น ตอนที่ 2

หลังจากสิ้นสุดยุคของเอไซ ชาญี่ปุ่น เริ่มผูกผันกับสังคมญี่ปุ่น การบริโภคชาเริ่มแพร่หลายจากชนชั้นนักรบ ราชวงศ์ และพระ ลงมาสู่ประชาชนทั่วไป มีการนำชาไปผูกกับการละเล่นต่างๆ โดยมีชาเป็นศูนย์กลาง ทั้งการดื่มเพื่อทายชื่อชา หรือแหล่งผลิตชา คล้ายกับการดื่มไวน์ในสมัยนี้

ใบชา รสชาติ และสายพันธุ์

ชาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถหลอกกันได้ในระดับหนึ่งครับ ถ้าหากว่าดูชาเป็น อย่างเช่นว่าสายพันธุ์ไหน เก็บฤดูไหน คนที่ทำชามาหลายปี หรือดื่มชามาเยอะ หากเวลาที่ดื่มรู้จักสังเกตควบคู่ไปด้วย ก็จะดูออกครับ