Skip to content
You are here:
- Home
- Article author charoen
ชาแดง หรือ ชาดำ คือคำที่ใช้เรียกชาที่ผ่านกระบวนการออกซิเดชั่นอย่างสมบูรณ์ กระบวนการออกซิเดชั่น คือปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างสารสำคัญ (สารอาหารต่างๆ) ในใบชากับออกซิเจนในอากาศ เกิดขึ้นหลังจากการนวดใบชา มีผลทำให้รสชาติของชามีมิติที่ลึกและกว้างมากขึ้น เป็นรสชาติที่หาไม่ได้จากชาประเภทอื่นๆ
ชาที่เบลนด์แบบไม่ใช้กลิ่นเพื่อสื่อถึงอุดมคติแห่งตะวันออก The Ideals of the East ถูกเบลนด์ขึ้นจากชาเขียวจากทั้งหมดสามประเทศ
ใบชาที่ผ่านการนวดมาแล้วครึ่งชั่วโมง นวดจนช้ำ ก่อนเข้าสู่กระบวนการ oxidation เพื่อให้เอนไซม์ในใบชาทำปฏิกิริยากับออกซิเจน รสชาติที่หลากหลายของชาดำเริ่มตรงนี้นี่เองครับ จะหมักชาดำให้ออกมามีกลิ่นแบบไหน มีบอดี้แน่นหรือบาง (จะเอาแบบน้ำมีเนื้อเต็มปากเต็มคำ หรือน้ำชารสเบาหวิว) ก็ต้องไปปรับ conditions ต่างๆในการหมักอีกที
UJI MATCHA Yamato มัทฉะเกรดสูง จากเมืองอุจิ เกียวโต รุ่น “ยามาโตะ”
มีคำถามและข้อสงสัยในหมู่นักดื่มมัทฉะชาวไทยมากมายว่า ถ้าจะซื้อฉะเซ็น รุ่นไหนตีขึ้นฟองได้ดีที่สุด? หรือ รุ่นไหนจับถนัดมือและตีได้ง่ายที่สุด? หรือ ทำไมฉะเซ็นจึงมีหลากหลายรูปทรงแตกต่างกัน? เนื่องจากเดือนที่ผ่านมามีลูกค้าเข้ามาถามหาฉะเซ็นญี่ปุ่นหลายท่าน จึงขอรวบรวมข้อมูลเท่าที่รู้ จากหนังสือเกี่ยวกับฉะเซ็นภาษาญี่ปุ่น บวกกับความรู้ที่ได้จากช่างฝีมือทำฉะเซ็นสองท่าน คือคุนคุโบะ ซะบุน กับคุณทะนิมุระ ทันโกะ ให้ผู้อ่านทุกท่านไว้ใช้พิจารณา
เอไซเผยแพร่ชาในหมู่พระด้วยกัน โดยกล่าวว่ามันมีสรรพคุณที่แสนจะวิเศษ นั่นคือช่วยให้ตาสว่าง ไม่ง่วง มีสมาธิที่ดีขึ้น ถูกดื่มกันในหมู่พระ ซึ่งในสมัยนั้น เหล่าพระสงฆ์จะแปรรูปชาโดยการเด็ดยอดชาสด นำมานึ่ง ตากให้แห้ง แล้วบดเป็นผง
ชาเขียวเซนฉะ เป็นชาสายพันธุ์เดี่ยว Single Origin จากไร่ชาที่จังหวัดชิซึโอะกะ สายพันธุ์ยะบุขิตะ ฤดูใบไม้ผลิ (อิจิบันฉะ 一番茶) นำมาทำเป็นเซนฉะ แบบอะสะมุชิ 浅蒸し คือการนึ่งไอน้ำระยะสั้น
สำหรับคนที่ชอบปาร์ตี้บ่อย หรือดื่มหนักเป็นประจำ แต่มีภาระหน้าที่ในวันถัดไปทันที แนะนำให้ดื่มชาเขียวเพื่อแก้อาการเมาค้าง
ในสมัยก่อน ประเทศญี่ปุ่นแบ่งการปกครองเป็นหัวเมืองเล็กหัวเมืองน้อย และราวๆศตวรรษที่ 16 บริเวณเมืองทะคะยะมะ จังหวัดนาราในปัจจุบัน เคยเป็นหัวเมืองเล็กๆชื่อว่ายะมะโตะ ถูกปกครองโดยเจ้าเมืองชื่อ ไดเซ็น ไคโยริซะกะ
ฉะเซ็นบางรุ่น จะเป็นการเปลี่ยนรูป (変形) หรือวิวัฒนาการมาจากฉะเซ็นอีกรุ่นครับ อย่างเช่นในรูป ทางด้านซ้ายคือฉะเซ็นรุ่นคะซึโฮะ (数穂) เป็นรุ่นพื้นฐานที่มีจำนวนซี่ 80 ซี่ เป็นฉะเซ็นรุ่นที่ให้กำเนิดรุ่นชิน (真) ที่อยู่ทางขวามือ โดยปัจจุบันนั้น ฉะเซ็นสองรุ่นนี้เป็นรุ่นที่เห็นได้ง่ายที่สุด
Go to Top
error: Content is protected !!