“โทะระยะ” (虎屋: Toraya) ร้านขนมที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น

“โทะระยะ” (虎屋: Toraya) คือร้านขนมที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น เปิดกิจการมาแล้วตั้งแต่ทศวรรษ 1520 โดยตระกูลคุโระกะว่า รวมอายุแล้วมากกว่า 490 ปี โดยมีบันทึกว่าร้านโทะระยะนั้น ได้ผลิตขนมให้แก่สมเด็จพระจักรพรรดิและราชวงศ์อิมพีเรียลมาตั้งแต่ปี 1586

“เกียวโต” (京都: Kyoto) เมืองหลวงเก่าแก่ของประเทศญี่ปุ่น

“เกียวโต” (京都: Kyoto) เมืองหลวงเก่าแก่ของประเทศญี่ปุ่น มีประวัติยาวนานกว่า 1200 ปี รุ่งเรืองมากในสมัยเฮอัน เป็นสถานที่ก่อกำเนิดศิลปวัฒนธรรมมากมาย งานเขียนเรื่องเกนจิโมโนกาตาริ (源氏物語) ก็ถูกเขียนขึ้นในยุคนี้

” O r a n g e P e k o e “

ผมเชื่อว่า ผู้ชื่นชอบชาหลายๆคน ตอนที่เห็นคำว่า Orange Pekoe เป็นครั้งแรก คงคิดว่าชาชนิดนี้เป็นชารสส้ม หรือมีผิวส้มเป็นส่วนประกอบเป็นแน่แท้…แต่จริงๆแล้ว ไม่ใช่ครับ

ครกหินญี่ปุ่น

“อิชิอุสุ” (石臼: Ishi-usu) คือ “ครกหินญี่ปุ่น” มีลักษณะเป็นหินทรงกระบอกสองชิ้น วางทับกัน โดยมีที่จับสำหรับหมุนที่หินด้านบน ใช้สำหรับบดอาหารจำพวกเมล็ดข้าว ธัญพืช และใบชา

จากใบชาพันธุ์อาซาฮี (朝日) สู่ผงมัทฉะ เดือน 11

บชาพันธุ์อาซาฮี 朝日 ของอุจิ ที่ผ่านการพรางแสง 30 วัน ตัวนี้คือหลังจากขั้นตอนนึ่งไอน้ำและคัดก้านออก ใบชาจะถูกนำไปอบแห้งโดยไม่ผ่านการนวด ที่เกียวโตจะใช้เตาอิฐในการอบ เขาบอกว่ากลิ่นจะหอมกว่าอบด้วยวิธีอื่น

ชาพันธุ์พื้นเมืองของไทย

อัสสัมพันธุ์ใบเล็กครับ เป็นชาพันธุ์พื้นเมืองของไทย รหัสพันธุกรรมไทย ที่ถึงแม้จะเป็นใบที่เจริญเติบโตเต็มที่ ก็มีใบเล็กไม่ต่างจากใบชาสายพันธุ์จีน อัสสัมแบบนี้มีกระจายอยู่ทั่วไปในเชียงใหม่ ลำปาง น่าน และเชียงราย แต่บางดอยอาจจะมีต้นชาแบบนี้มากกว่าดอยอื่น

Single Origin จากไร่ชาบนเกาะคิวชู

ชาที่อยู่ในรูปคือ ทะมะเรียวขุฉะ 玉緑茶 เป็นชาเขียวประเภทหนึ่งของญี่ปุ่น (ชาญี่ปุ่นไม่ได้มีเฉพาะเซนฉะกับมัทฉะนะครับ 555) เป็นชาที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีน กรรมวิธีเก่าแก่กว่าเซนฉะ เพราะเป็นชาเขียวที่หยุดการ oxidation โดยการคั่วใบชาบนกระทะ จากนั้นจึงนำไปนวดแล้วทำให้แห้ง